เทเบิลเทนนิส

ประวัติเทเบิลเทนนิ
 กีฬา เทเบิลเทนนิสเริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2433 เริ่มเล่นโดยใช้ไม้ที่มีลักษณะคล้ายกับไม้เทเบิลเทนนิสในปัจจุบันแต่หุ้ม ด้วยหนังสัตว์ตีลูกเซลลูลอยด์ เวลาลูกกระทบพื้นโต๊ะและไม้ก็จะเกิดเสียง ‘ปิก-ป๊อก’ จึงเรียกชื่อว่า ‘ปิงปอง’ (Pingpong) ต่อมาไม้ที่หุ้มด้วยหนังสัตว์ได้เปลี่ยนเป็นแผ่นไม้ธรรมดา การจับไม้มี 2 แบบ คือ จับไม้แบบการจับมือ (Shake Hand) กับการจับไม้แบบจับปากกา (Pen Holder)
           พ.ศ. 2443 เริ่มมีไม้ปิงปองติดยางเม็ด
           พ.ศ. 2465 บริษัทเครื่องกีฬาได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็น “ Table-Tennis”
           พ.ศ. 2469            - ก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (International Table-Tennis
Federation:ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอน ในเดือนธันวาคม โดยมีนายอีวอร์ มองตากู (Mr. Ivor Montago) เป็นประธานคนแรก
                                 - การแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลก ครั้งที่ 1
           พ.ศ. 2495 ญี่ปุ่นเข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกเป็นครั้งแรก
           พ.ศ. 2496 สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลก ครั้งแรก
           พ.ศ. 2500 ก่อตั้งสมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศ
           พ.ศ. 2531 บรรจุการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสในกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรกที่กรุงโซลประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
 
 อุปกรณ์ปิงปอง

1.โต๊ะเทเบิลเทนนิส (THE TABLE)
            1.1 พื้นหน้าด้านบนของโต๊ะเรียกว่า พื้นผิวโต๊ะ” (PLAYING SURFACE)  จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  มีความยาว 2.74  เมตร  (ฟุต)  ความกว้าง 1.525 เมตร  5 ฟุต และจะต้องสูงได้ระดับ  โดยวัดจากพื้นที่ตั้งขึ้นมาถึงพื้นที่ผิวโต๊ะ  สูง 76 เซนติเมตร  (2  ฟุต นิ้ว)
           1.2  พื้นผิวโต๊ะ  ไม่รวมถึงด้านข้างตามแนวตั้งที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของโต๊ะลงมา 
          1.3  พื้นผิวโต๊ะอาจทำด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้  แต่จะต้องมีความกระดอนสม่ำเสมอเมื่อเอาลูก เทเบิลเทนนิสมาตรฐานปล่อยลงในระยะสูง  30 เซนติเมตร  โดยวัดจากพื้นผิวโต๊ะลูกกระดอนขึ้นมาประมาณ   23  เซนติเมตร
         1.4  พื้นผิวโต๊ะจะต้องเป็นสีเข้มสม่ำเสมอและเป็นด้านไม่สะท้อนแสง  ขอบด้านบนของผิวโต๊ะทั้ง  ด้าน  จะทาด้วยสีขาว  มีขนาดกว้าง  2 เซนติเมตร  เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านยาว 2.74 เมตร  ทั้งสองด้านเรียกว่า เส้นข้าง  (SIDE  LINE)  เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านกว้าง 1.525  เมตร  ทั้งสองด้านเรียกว่า เส้นสกัด  (          END LINE)
          1.5   พื้นผิวโต๊ะจะถูกแบ่งออกเป็นสองแดน (COURTS) เท่า ๆ กัน  กั้นด้วยตาข่ายซึ่งขึงตั้งฉากกับพื้นผิวโต๊ะ และขนานกับเส้นสกัดโดยตลอด
           1.6  สำหรับประเทศคู่  ในแต่ละจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน  ด้วยเส้นสีขาวมีขนาดกว้าง  มิลลิเมตร  โดยขีดขนานกับเส้นข้างเรียกว่า เส้นกลาง  (CENTER LINE)  และให้ถือว่าเส้นกลางนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ดด้านขวาของโต๊ะด้วย
           1.7  ใน การแข่งขันระดับมาตรฐานสากล  โต๊ะเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับการแข่งขันจะต้อง เป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF)  เท่านั้น  โดยโต๊ะเทเบิลเทนนิสจะมีสีเขียวหรือสีน้ำเงิน  และในการแข่งขันทุกครั้ง

2.ส่วนประกอบของตาข่าย (THE NET  ASSEMBLY)
            2.1 ส่วนประกอบของตาข่ายจะประกอบด้วย ตาข่าย ที่แขวน และเสาตั้ง  รวมไปถึงที่จับยึดกับโต๊ะเทเบิลเทนนิส
            2.2  ตาข่ายจะต้องขึงตึงและยึดด้วยเชือกซึ่งผูกติดปลายยอดเสาซึ่งตั้งตรงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25  เซนติเมตร (6 นิ้ว)
            2.3  ส่วน บนสุดของตาข่ายตลอดแนวยาวจะต้องสูงอยู่ชิดกับพื้นผิวโต๊ะให้มากที่สุดเท่า ที่เป็นไปได้  และส่วนปลายสุดของตาข่ายทั้งสองด้านจะต้องอยู่ชิดกับเสาให้ มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
       2.4ใน การแข่งขันระดับมาตรฐานสากล   ตาข่ายที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อ และชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ  (ITTF)

3.ลูกเทเบิลเทนนิส (THE BALL)
            3.1  ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องกลมและมีเส้นผ่าศูนย์กลาง  40 มิลลิเมตร 
            3.2  ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องมีน้ำหนัก 2.7 กรัม
            3.3  ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องทำด้วยเซลลูลอยด์หรือวัสดุพลาสติกอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน  มีสีขาว  หรือสีส้ม  และเป็นสีด้าน
            3.4  ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF)  เท่านั้น  และจะต้องระบุสีของลูกที่ใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันทุกครั้ง

 4.ไม้เทเบิลเทนนิส  (THE RACKET)
            4.1  ไม้เทเบิลเทนนิสจะมีรูปร่าง ขนาดหรือหนักอย่างไรก็ได้  แต่หน้าไม้จะต้องแบนเรียบและแข็ง
            4.2  อย่างน้อยที่สุด 85%  ของ ความหนาของไม้  จะต้องทำด้วยไม้ธรรมชาติ  ชั้นที่อัดอยู่ภายในหน้าไม้  ซึ่ง ทำด้วยวัสดุอื่นใด เช่น คาร์บอนไฟเบอร์   กลาสไฟเบอร์  หรือกระดาษอัดจะต้องมีความหนาไม่เกิน  7.5%  ของความหนาทั้งหมดของไม้ หรือไม่เกิน 0.35  มิลลิเมตร  สุดแท้แต่กรณีใดจะมีค่าน้อยกว่า
            4.3 หน้าไม้ เทเบิลเทนนิสด้านที่ใช้ตีลูกจะต้องมีวัสดุปิดทับวัสดุนั้นจะเป็นแผ่นยางเม็ด ธรรมดา   แผ่นยางชนิดนี้  เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความ หนาทั้งสิ้นไม่เกิน มิลลิเมตร  หรือแผ่นยางชนิดสอดไส้  แผ่นยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน  4   มิลลิเมตร  ทั้งนี้ความสูงของเม็ดยางจะเท่ากับความกว้างของเม็ดยางในอัตราส่วน  1:1 
                        4.3.1 แผ่นยางเม็ดธรรมดา  (ORDINARY  PIMPLED RUBBER)  จะ ต้องเป็นแผ่นยางชิ้นเดียวและไม่มีฟองน้ำรองรับโดยหันเอาเม็ดยางออกมาด้าน นอก  จะทำด้วยยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์  มีเม็ดยางกระจายสม่ำเสมอไม่ น้อยกว่า10 เม็ดต่อ  ตารางเซนติเมตร  และไม่มากกว่า  30  เม็ดต่อ   ตารางเซนติเมตร
                        4.3.2 แผ่นยางชนิดสอดไส้ (SANDWICH  RUBBER)  ) ประกอบด้วยฟองน้ำชิ้นเดียวปิดคลุมด้วยแผ่นยางธรรมดาชิ้นเดียว  โดยจะหันเอา เม็ดยางอยู่ด้านในหรือด้านนอกได้  ซึ่งความหนาของแผ่นยางธรรมดานี้จะต้องมี ความหนาไม่เกิน มิลลิเมตร
            4.4 วัสดุปิดทับหน้าไม้จะต้องปิดคลุมหน้าไม้ด้านนั้น ๆ และจะต้องไม่เกินขอบหน้าไม้หุ้มด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้
            4.5  หน้าไม้เทเบิลเทนนิส  ชั้นภายในหน้าไม้และชั้นของวัสดุปิดทับต่าง ๆ  หรือกาว จะต้องสม่ำเสมอและมีความหนาเท่ากันตลอด
            4.6  หน้าไม้เทเบิลเทนนิส   ด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีแดงสว่าง  (BRIGHT  RED) และอีกด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีดำ  (BLACK)  และจะต้องมีสีกลมกลืนอย่างสม่ำเสมอไม่สะท้อนแสง
            4.7  วัสดุที่ปิดทับหน้าไม้สำหรับตีลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้ผลิต  ยี่ห้อ  รุ่น  และเครื่องหมาย  ITTF และชนิด  (BRAND AND TYPE)  ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) ครั้งหลังสุดเท่านั้น
            4.8  สำหรับ กาวที่มีส่วนประกอบของสารที่เป็นพิษจะไม่อนุญาตให้ใช้ทาลงบน หน้าไม้    เทเบิลเทนนิส   ผู้เล่นจะต้องใช้กาวแผ่นสำเร็จรูป   หรือกาวที่ ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF)  เท่านั้น  และห้ามใช้กาวในการติดยางกับไม้เทเบิลเทนนิสในบริเวณสนามแข่งขัน
            4.9  การ เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของความสม่ำเสมอของผิวหน้าไม้หรือวัสดุปิดทับ  หรือความ ไม่สม่ำเสมอของสีหรือขนาดเนื่องจากการเสียหายจากอุบัติเหตุ  การใช้งานหรือ สีจางอาจจะอนุญาตให้ใช้ได้   โดยมีเงื่อนไขว่า  เหตุเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อคุณลักษณะของผิวหน้าไม้   หรือผิววัสดุปิดทับ
            4.10   เมื่อ เริ่มการแข่งขันและเมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นเปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสระหว่างการ แข่งขัน   ผู้เล่นจะต้องแสดงไม้เทเบิลเทนนิสที่เขาเปลี่ยนให้กับคู่แข่ง ขัน  และกรรมการผู้ตัดสินตรวจสอบก่อนทุกครั้ง
            4.11 เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่ต้องมั่นใจว่าไม้เทเบิลเทนนิสนั้นถูกต้องตามกติกา
            4.12 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่นให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาด

 ลำดับการเล่นการได้คะแนน
1 ลำดับการเล่น (THE  ORDER OF PLAY)
            1.1  ประเภทเดี่ยว  ฝ่ายส่งได้ส่งอย่างถูกต้อง  ฝ่ายรับจะตีโต้กลับไปอย่างถูกต้องหลังจากนั้นฝ่ายส่งและฝ่ายรับจะผลัดกันตีโต้
            1.2  ประเภทคู่  ผู้ ส่งลูกของฝ่ายส่งจะส่งลูกไปยังฝ่ายรับ ผู้รับของฝ่ายรับจะต้องตีลูกกลับ  แล้วคู่ของฝ่ายส่งจะตีลูกลับไป  จากนั้น คู่ของฝ่ายรับจะตีลูกกลับไปเช่นนี้สลับกันไปในการตีโต้
2  ลูกที่ให้ส่งใหม่ (A  LET)
            2. การส่งซึ่งถือให้เป็นการส่งใหม่  ต้องมีลักษณะดังนี้
                        2.1.1  ถ้า ลูกที่ฝ่ายส่งได้ส่งไปกระทบส่วนต่าง ๆ ของตาข่าย แล้วข้ามไปในแดนของฝ่ายรับโดยถูกต้องหรือส่งไปกระทบส่วนต่าง ๆ ของตาข่าย  แล้วผู้รับหรือคู่ฝ่ายรับขวางลูก  หรือตีลูกก่อนที่ลูกจะตกกระทบ แดนของเขาในเส้นสกัด
                        2.1.2 ใน ความเห็นของผู้ตัดสิน  ถ้าลูกที่ส่งออกไปแล้วฝ่ายรับหรือคู่ฝ่ายรับยังไม่ พร้อมที่จะรับ  โดยมีข้อแม้ว่า  ฝ่ายรับหรือคู่ของฝ่ายรับไม่พยายามจะตีลูก
                        2.1.3 ในความเห็นของผู้ตัดสิน  หากมีเหตุรบกวนนอกเหนือการควบคุมของผู้เล่นทำให้การส่ง  การรับ  หรือการเล่นนั้นเสียไป
                        2.1.4  ถ้าการเล่นถูกยุติโดยผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยตัดสิน
            2.2  การเล่นอาจถูกยุติลงในกรณีต่อไปนี้
                        2.2.1 เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด  ในลำดับการส่ง  การรับลูกหรือการเปลี่ยนแดน
                        2.2.2  เมื่อการแข่งขันได้ถูกกำหนดให้ใช้ระบบการแข่งขันระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลา
                        2.2.3 เพื่อเตือนหรือลงโทษผู้เล่น
                        2.2.4 ในความคิดเห็นของผู้ตัดสิน  หากเห็นว่าสภาพการเล่นถูกรบกวนอันจะเป็นผลต่อการเล่น
3. ได้คะแนน (A  POINT)
            นอกจากการตีโต้จะถูกสั่งให้เป็นเน็ท   ผู้เล่นจะได้รับคะแนนจากกรณีดังต่อไปนี้
            3.1  ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม  ไม่สามารถส่งลูกได้อย่างถูกต้อง
            3.2   ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม  ไม่สามารถรับลูกได้อย่างถูกต้อง
            3.3  ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม  ตีลูกสัมผัสถูกสิ่งใด ๆ  นอกเหนือจากส่วนประกอบของตาข่าย
            3.4  ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม  ตีลูกผ่านเลยเส้นสกัดของเขาโดยไม่ได้สัมผัสกับพื้นผิวโต๊ะ
            3.5  ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม  ขวางลูก
            3.6  ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม  ตีลูกติดต่อกันสองครั้ง
            3.7  ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม  ตีลูกด้วยหน้าที่ไม่ถูกต้องตามกติกา
            3.8  ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม  หรือสิ่งใด ๆ ที่ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามสวมใส่หรือถืออยู่  ทำให้พื้นผิวโต๊ะเคลื่อนที่
            3.9  ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม  หรือสิ่งใด ๆ  ที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสวมใส่หรือถืออยู่   สัมผัสถูกส่วนต่าง ๆ ของตาข่าย
            3.10  ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม  ใช้มืออิสระสัมผัสถูกผิวโต๊ะ
            3.11  ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม  ตีลูกผิดลำดับในการเล่นประเภทคู่ยกเว้นลำดับโดยคนเสิร์ฟ  หรือคนเสิร์ฟ
            3.12  ในระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลา   ถ้าเขาหรือคู่ของเขาสามารถตีโต้กลับไปได้อย่างถูกต้องครบ  13  ครั้ง


 https://sites.google.com


แบดมินตัน 

 

ประวัติกีฬาบาสเก็ตบอล

 
  บาสเกตบอล ( Basketball ) เป็นกีฬาประจำชาติอเมริกัน ถูกคิดขึ้น เพื่อต้องการช่วยเหลือบรรดาสมาชิก Y.M.C.A. ได้เล่นกีฬาในฤดูหนาว เนื่องจากในช่วงฤดูหนาวสภาพพื้นภูมิประเทศโดยทั่วๆไป ถูกหิมะปกคลุม อันเป็นอุปสรรคในการเล่น กีฬากลางแจ้ง เช่น อเมริกันฟุตบอล เบสบอล คณะกรรมการสมาคม Y.M.C.A. ได้พยายามหาหนทางแก้ไขให้บรรดาสมาชิกทั้งหลายได้เล่นกีฬาในช่วงฤดูหนาวโดย ไม่บังเกิดความเบื่อหน่าย ในปี ค . ศ .1891 Dr.James A.Naismith ครูสอนพลศึกษาของ The International Y.M.C.A. Training School อยู่ที่เมือง Springfield รัฐ Massachusetts ได้รับมอบหมายจาก Dr.Gulick ให้เป็นผู้คิดค้นการเล่นกีฬาในร่มที่เหมาะสมที่จะใช้เล่นในช่วงฤดูหนาว Dr.James ได้พยายามคิดค้นดัดแปลงการเล่นกีฬาอเมริกันฟุตบอลและเบสบอลเข้าด้วยกันและ ให้มีการเล่นที่เป็นทีม ในครั้งแรก Dr.James ได้ใช้ลูกฟุตบอลและตะกร้าเป็นอุปกรณ์สำหรับให้นักกีฬาเล่น เขาได้นำตะกร้าลูกพีชไปแขวนไว้ที่ฝาผนังของห้องพลศึกษา แล้วให้ผู้เล่นพยายามโยนลูกบอลลงในตะกร้านั้นให้ได้ โดยใช้เนื้อที่สนามสำหรับเล่นให้มีขนาดเล็กลงแบ่งผู้เล่นออกเป็นข้างละ 7 คน ผลการทดลองครั้งแรกผู้เล่นได้รับความสนุกสนานตื่นเต้น แต่ขาดความเป็นระเบียบ มีการชนกัน ผลักกัน เตะกัน อันเป็นการเล่นที่รุนแรง 
 
 
ในการทดลองนั้น ต่อมา Dr.James ได้ตัดการเล่นที่รุนแรงออกไป และได้ทำการวางกติกาห้ามผู้เล่นเข้าปะทะถูกเนื้อต้องตัวกัน นับได้ว่าเป็นหลักเบื้องต้นของการเล่นบาสเกตบอล Dr.James จึงได้วางกติกาการเล่นบาสเกตบอลไว้เป็นหลักใหญ่ๆ 4 ข้อ ด้วยกัน คือ
1. ผู้เล่นที่ครอบครองลูกบอลอยู่นั้นจะต้องหยุดอยู่กับที่ห้ามเคลื่อนที่ไปไหน 
2. ประตูจะต้องอยู่เหนือศีรษะของผู้เล่น และอยู่ขนานกับพื้น
3. ผู้เล่นสามารถครอบครองบอลไว้นานเท่าใดก็ได้ โดยคู่ต่อสู้ไม่อาจเข้าไปถูกต้องตัวผู้เล่นที่ครอบครองบอลได้
4. ห้ามการเล่นที่รุนแรงต่างๆโดยเด็ดขาด ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะต้องไม่กระทบกระแทกกัน

เมื่อได้วางกติกาการเล่นขึ้นมาแล้วก็ได้นำไปทดลอง และพยายามปรับปรุงแก้กไขระเบียบดีขึ้น เขาได้พยายามลดจำนวนผู้เล่นลงเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกัน จนในที่สุดก็ได้กำหนดตัวผู้เล่นไว้ฝ่ายละ 5 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมที่สุดกับขนาดเนื้อที่สนาม
Dr.James ได้ทดลองการเล่นหลายครั้งหลายหน และพัฒนาการเล่นเรื่อยมา จนกระทั่งเขาได้เขียนกติกาการเล่นไว้เป็นจำนวน 13 ข้อ ด้วยกัน และเป็นต้นฉบับการเล่นที่ยังคงปรากฏอยู่บนกระดานเกียรติยศในโรงเรียนพลศึกษา ณ Springfield อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
กติกา 13 ข้อ ของ Dr.James มีดังนี้
1. ผู้เล่นห้ามถือลูกบอลแล้ววิ่ง
2. ผู้เล่นจะส่งบอลไปทิศทางใดก็ได้ โดยใช้มือเดียวหรือสองมือก็ได้
3. ผู้เล่นจะเลี้ยงบอลไปทิศทางใดก็ได้ โดยใช้มือเดียวหรือสองมือก็ได้
4. ผู้เล่นต้องใช้มือทั้งสองเข้าครอบครองบอล ห้ามใช้ร่างกายช่วยในการครอบครองบอล
5. ในการเล่นจะใช้ไหล่กระแทก หรือใช้มือดึง ผลัก ตี หรือทำการใดๆให้ฝ่ายตรงข้ามล้มลงไม่ได้ ถ้าผู้เล่นฝ่าฝืนถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง ถ้า ฟาวล์ 2 ครั้ง หมดสิทธิ์เล่น จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำประตูกันได้จึงจะกลับมาเล่นได้อีก ถ้าเกิดการบาดเจ็บระหว่างการแข่งขัน จะไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น
6. ห้ามใช้ขาหรือเท้าแตะลูก ถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง
7. ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู
8. ประตูที่ทำได้หรือนับว่าได้ประตูนั้น ต้องเป็นการโยนบอลให้ลงตะกร้า ฝ่ายป้องกันจะไปยุ่งเกี่ยวกับประตูไม่ได้เด็ดขาด
9. เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำลูกบอลออกนอกสนาม ให้อีกฝ่ายหนึ่งส่งลูกเข้ามาจากขอบสนามภายใน 5 วินาที ถ้าเกิน 5 วินาที ให้เปลี่ยนส่ง และถ้าผู้เล่นฝ่ายใดพยายามถ่วงเวลาอยู่เสมอให้ปรับเป็นฟาวล์
10. ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าผู้เล่นคนใดฟาวล์ และลงโทษให้ผู้เล่นหมดสิทธิ์
11. ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าลูกใดออกนอกสนาม และฝ่ายใดเป็นฝ่ายส่งลูกเข้าเล่น และจะทำหน้าที่เป็นผู้รักษาเวลาบันทึกจำนวนประตูที่ทำได้ และทำหน้าที่ทั่วไปตามวิสัยของผู้ตัดสิน
12. การเล่นแบ่งออกเป็น 2 ครึ่งๆละ 20 นาที
13. ฝ่ายที่ทำประตูได้มากที่สุดเป็นผู้ชนะ ในกรณีคะแนนเท่ากันให้ต่อเวลาออกไป และถ้าฝ่ายใดทำประตูได้ก่อนถือว่าเป็นฝ่ายชนะ
แม้ว่ากติกาการเล่นจะกำหนดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้เล่นเพื่อความ สนุกสนานในแง่นันทนาการ แต่กีฬานี้ก็ได้รับความนิยมจากเยาวชนอย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่มีผู้คนเป็นจำนวนมากเห็นว่าเป็นกีฬาสำหรับผู้อ่อนแอ และพยายามที่จะพิสูจน์ความเห็นนี้ด้วยการหาเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้เล่น บาสเกตบอลก็ตาม อย่างไรก็ดี ความรู้สึกเช่นนี้ค่อยๆเริ่มจางหายไปเมื่อความรวดเร็วและความแม่นยำในการ เล่นบาสเกตบอล ได้สร้างความประทับใจและดึงดูดความสนใจของผู้คนเพิ่มมากขึ้น และได้แพร่กระจายไปทางตะวันออกของอเมริกาอย่างรวดเร็วและเมื่อโรงเรียนต่างๆ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของกีฬาชนิดนี้ จึงพากันนิยมเล่นไปทั่วประเทศ

ก่อนปี ค . ศ . 1915 แม้ว่าบาสเกตบอลจะเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเป็นอย่างมากก็ ตาม แต่ก็จำกัดเป็นเพียงการเล่นเพื่อออกกำลังกายในห้องพลศึกษาเท่านั้น ไม่มีองค์กรใดรับผิดชอบจัดการเล่นเป็นกิจลักษณะ ยกเว้นองค์กรบาสเกตบอลอาชีพที่เกิดขึ้นเพียง 2-3 องค์กรแล้วก็เลิกล้มไป ฉะนั้นการเล่นบาสเกตบอลในแต่ละที่แต่ละแห่งจึงต่างก็ใช้กติกาผิดแผกแตกต่าง กันออกไป ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนากีฬาบาสเกตบอลเป็นอย่างมาก
ดังนั้นในปี ค . ศ . 1915 สมาคม Y.M.C.A. สมาคมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งชาติและสมาพันธ์กีฬาสมัครเล่น ได้ร่วมประชุมเพื่อร่างกติกาการเล่นบาสเกตบอลขึ้นมาเพื่อเป็นบรรทัดฐานเดียว กัน กติกานี้ไดใช้สืบมาจนกระทั่งปี ค . ศ . 1938 และได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 11 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี โดยคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติเป็นผู้พิจารณา
สหรัฐอเมริกายอมรับการเล่นบาสเกตบอลเป็นกีฬาประจำชาติเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค . ศ . 1892 ซึ่งได้มีการเล่นบาสเกตบอลอย่างเป็นทางการขึ้นเป็นครั้งแรก สมาคม Y.M.C.A. ได้นำกีฬาบาสเกตบอลไปเผยแพร่ในทุกส่วนของโลก ได้แพร่เข้าไปในประเทศจีนและอินเดียในราวปี ค . ศ . 1894, ฝรั่งเศส ในราวปี ค . ศ . 1895, ญี่ปุ่นราวปี ค . ศ . 1900 เกือบจะกล่าวได้ว่า บาสเกตบอลมีการเล่นในทุกประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 และคาดว่าก่อนปี ค . ศ . 1941 มีประชาชนทั่วโลกเล่นกีฬาบาสเกตบอลเป็นจำนวนถึง 20 ล้านคน ในขณะนี้มีผู้นิยมเล่นบาสเกตบอลกันทั่วทุกมุมโลก ไม่น้อยกว่า 52 ประเทศ นอกจากนี้ได้มีการแปลกติกาการเล่นเป็นภาษาต่างๆมากกว่า 30 ภาษา

 

 http://guru.sanook.com

 

 


บาสเกตบอล


 กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาประเภททีม มีผู้เล่นฝ่ายละ   5 คน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำลูกบาสเกตบอลไปโยนลงห่วงประตูของฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากที่สุด โดยมีทักษะการเล่น ได้แก่ การรับ-ส่งลูก การเลี้ยงลูกและการยิงประตู ซึ่งต้องประกอบการเล่นทั้งทักษะส่วนบุคคลและทีม ซึ่งจะกล่าวในรายละเดียดต่อไปนี้ กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาประจำชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มจาก ดร. เจมส์ เอ เนสมิทได้คิดขึ้นเพื่อเล่นในโรงพลศึกษาของโรงเรียนฝึกอบรมของสมาคมวายเอ็มซี เอนานาชาติ ที่เมื่องสปริงฟีลด์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์ในช่วงที่มีหิมะตก เมื่อ คส 1891 โดยใช้ตระกร้าลูกพีช 2 ใบแขวนเป็นประตู จึงทำให้กีฬานี้ได้ชื่อว่า บาสเกตบอล การเล่นครั้งนั้นใช้ลูกฟุตบอลเป็นลูกบอล มีผู้เล่นทั้งหมด 18 คน แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 9 คน และตัวของ ดร.เนสมิท เป็นกรรมการ มีกฎการเล่น 4 ข้อ คือ 1.ห้ามถือลูกเคลื่อนที่ 2.ห้ามมิให้ผู้เล่นปะทะตัวกัน 3.ประตูอยู่ระดับศีรษะและขนานพื้น 4.ผู้เล่นจะถือลูกบอลนานเท่าใดก็ได้ และผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่ถูกตัวผู้เล่นต่อมาได้มีการปรับปรุงกติกาการเล่น 13 ข้อและลดผู้เล่นเหลือฝ่ายละ 5คน จาก ในการเล่นเกิดการปะทะกันเพราะสนามแคบ ดั้งนั้นจึงทำให้เกมส์การเล่นสมบูรณืยิ่งขึ้นทั้งยังลดการปะทะกันอีกด้วย ในปัจจุบันกติกาการเล่นดังกล่าวยังคงปรากฎอยู่ ณ โรงพลศึกษาเมืองสปริงฟีลด์ คือ 1.การโยนลูกจะใช้มือเดียวหรือสองมือโยนไปทางทิศใดก็ได้ 2.การตีลูกจะใช้มือเดียวหรือสองมือตีไปทิศทางใดก็ได้ 3.ผู้เล่นจะพาลูกบอลวิ่งไม่ได้ และต้องส่งตรงจุดรับลูกบอล ยกเว้นขณะที่วิ่งมารับลูกด้วยความเร็วให้เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย 4.ต้องจับลูกบอลด้วยมือทั้งสองข้างโดยไม่ให้ใช้ส่วนอื่นของร่างกาย 5.การเล่นจะชน คือผลักหรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามล้ม ถือว่าฟาวล์หนึ่งครั้ง ถ้าฟาลว์ลครั้งที่สองให้ออกจากการแข่งขัน จนกว่าจะมีผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยิงประตูได้จึงจะกลับมาเล่นได้อีก ถ้าเกิดการบาดเจ็บขนาดเล่นไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัว 6.การทุบด้วยกำปั้นถือว่าผิดกติกาให้ปรับเช่นเดียวกับข้อที่ 57ทีมใดทำฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู 8.การได้ประตูทำได้โดยการโยนหรือปัดลูกบอลให้ขึ้นไปค้างบนตระกร้า 9.เมื่อ ลูกบอลออกนอกสนาม ผู้เล่นที่จับลูกบอลคนแรกเป็นผู้ทุ่มลูกเข้ามาเล่นต่อ กรณีที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครก่อนหลังผู้ตัดสินจะส่งลูกบอลเข้ามาให้ ผู้ส่งจะติองส่งลูกบอลเข้าสนามภายใน 5 วินาที ถ้าช้ากว่านี้จะให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามส่งแทน ถ้าผู้เล่นถ่วงเวลาการเล่นให้ปรับฟาว์ล 
10.ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินผู้ฟาว์ล และลงโทษผู้เล่น 11.ผู้ตัดสินทำหน้าที่ตัดสินลูกบอลออกนอกสนาม และรักษาเวลา บันทึกจำนวนลูกที่ทำได้ และทำหน้าที่ทั่วไปของผู้ตัดสิน 12.การเล่นแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที 
13.ฝ่ายที่ทำประตูได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะ หัวหน้าทีมจะตกลงกันถ้าคะแนนเท่ากันเพื่อต่อเวลาการแข่งขันถ้าฝ่ายใดทำประตูได้ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะกติกานี้ใช้มาจนถึง ค.1937 จึงได้ปรับปรุงแก้ไขครั้งใหญ่เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 11 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี และใน ค.1939 ดร.เจมส์ เอ เนสมิทก็เสียชีวิตลงก่อนจะได้เห็นความสำเร็จ และความยิ่งใหญ่ในกีฬาบาสเกตบอลที่เขาคิดค้นขึ้น ต่อมาจากนั้นกีฬาบาสเกตบอลก็แพร่หลาย พัฒนาการเล่นเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก องค์กรที่เกี่ยวข้องกับกีฬาบาสเกตบอลในระดับนานาชาติได้แก่ สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาตินอกจากนี้ยังมีองค์กรในระดับทวีป เช่น สมาพันธ์บาสเกตบอลเอเชีย เป็นต้น


ประวัติบาสเกตบอลในประเทศไทย

                 
        ประเทศไทยเริ่มเล่นกีฬาบาสเกตบอลมากว่า60 ปีแล้ว มีหลักฐานยืนยันว่าใน พ.. 2477 นาย นพคุณ พงษ์สุวรรณ อาจารย์สอนภาษาจีน โรงเรียนมัธยมบพิตรพิมุข ได้ช่วยเหลือกรมพลศึกษาจัดแปลกกติกาบาสเกตบอลขึ้นเป็นครั้งแรก และทางกรมพลศึกษาได้จัดอบรมครูทั่วประเทศประมาณ 100 คน ใช้เวลา 1เดือน วิทยากรสำคัญในการอบรมครั้งนั้น ได้แก่ พ..อ หลวงชาติตระการโกศล ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการเล่นกีฬาบาสเกตบอล ทั้งยังเคยเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยเข้าแข่งขันบาสเกตบอลเมื่อครั้งศึกษาอยู่ ที่สหรัฐอเมริกาด้วย จากนั้นกีฬาบาสเกตบอลก็แพร่หลายทั่วประเทศไทย นิยมเล่นกันมากในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีภูมิลำเนาอยู่ตามหัวเมืองในตลาด เขตอำเภอของจังหวัดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร กรมพลศึกษาได้จัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลประจำปีระหว่างนักเรียนชายขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ..2477 สมัยที่ น.หลวงศุภชลาศัย ร.. ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา ส่วนการแข่งขันระหว่างนักเรียนหญิงและการแข่งขันระหว่างประชาชนเริ่มจัดใน พ..2495

 ประโยชน์ของกีฬาบาสเกตบอล

 กีฬา ทุกชนิดทุกประเภทล้วนแล้วแต่มีคุณค่าในตัวทั้งสิน จากประวัติความเป็นมาของกีฬาบาสเกตบอลมีสาเหตุของการคิดค้นเพื่อให้สามารถ เล่นออกกำลังกายได้ในช่วงหิมะตก โดยเล่นในโรงพลศึกษา เช่นเดียวกรณีในประเทศไทยเรามีฝนตกก็สามารถเล่นกีฬาบาสเกตบอลในโรงพลศึกษา ได้ สนามที่ใช้เล่นก็ไม่ใหญ่มากนักซึ่งเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน คือที่ดินมีราคาสูง แลหาได้ยาก จำนวนผู้เล่นไม่มากนัก ผู้เล่นต้องอาศัยความรวดเร็ว และความสามารถในการเล่น นับว่าเป็นการท้าทายความสามารถในการที่จะฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะหรือความ ชำนาญในการเล่น ซึ่งกีฬาบาสเกตบอลได้แฝงด้วยคุณค่าและประโยชน์อีกมากมายพอสรุปได้ดังนี้ 1.ช่วยพัฒนาส่งเสริมสมรรถภาพด้านต่างๆได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคมแก่บุคคล 2.ช่วยพัฒนาส่งเสริมกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกาย ให้ทำงานประสานกันดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมือ เท้า สายตาให้เคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง 
3.เป็นกิจกรรมนันทนาการสำหรับพักผ่อน คลายความตึงเครียด แก่ผู้เล่นและผู้ชม 4.ช่วยฝึกการตัดสินใจและรูจักคิดแก้ปัญหา ตลอดจนมีสมาธิที่ดี 5.ช่วยฝึกให้มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ และรู้จักอภัย 6.ใช้เป็นสื่อนำในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและส่วนรวม 7.ใช้เป็นสื่อนำในการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา 8.ผู้เล่นที่มีความสามารถจะทำชื่อเสียงให้กับตัวเอง วงศ์ตระกูล และประเทศชาติ  9.เป็นวิชาชีพด้านหนึ่งสำหรับงานกีฬา เช่น การแข่งขันบาสเกตบอลอาชีพ

อุปกรณ์และสนามบาสเกตบอล
          ลูกบาสเกตบอล
                        เป็นรูปทรงกลมขนาดเส้นรอบวง 75-78 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 600-650 กรัม แบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆคือ ทำด้วยหนังสำหรับใช้เล่นบนพื้นไม้ร่มและทำด้วยสารผสมยางหรือไนลอน ใช้เล่นบนพื้นซีเมนต์หรือการเล่นกลางแจ้ง เครื่องแต่งกายนักกีฬาบาสเกตบอล เครื่องแต่งกายนักกีฬาบาสเกตบอลใช้ชุดนักกีฬาทั่วไปจะเป็นเสื้อมีแขนสั้น หรือไม่มีแขนก็ได้ กางเกงกีฬา ใช้ผ้าที่ยืดหยุ่นได้ดีและมีการซับเหงื่อดี ถุงเท้าผ้าซึ่งมีความหนาและรองเท้าพื้นยางเรียบ ภายในของพื้นรองเท้า ควรมีความหนาเพื่อลดแรงกระแทกของเท้า และถ้าเป็นไปได้ควรใช้รองเท้าที่หุ้มข้อจะช่วยป้องกันข้อเท้าไม่ให้พลิกง่าย ในเวลาเล่นการดูแลรักษาอุปกรณ์ 1.เครื่องแต่งกายต้องดูแลรักษาให้สะอาดเสมอ เมื่อนำไปซักล้างต้องผึ่งแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้ 2.ลูก บาสเกตบอลต้องเก็บเป็นที่ให้เรียบร้อยเมื่อเลิกใช้ และไม่นำมาใช้เป็นที่รองนั่งจะทำให้ลูกบาสเกตบอลผิดรูปทรง ถ้าเปียกน้ำหรือเปรอะเปื้อนให้เช็ดทำความสะอาด ผึ่งให้แห้งก่อนเก็บ 3.ควรตรวจดูอุปกรณ์และพื้นสนามว่าอยู่ในสภาพที่ดี สามารถใช้งานได้หรือไม่ ถ้าชำรุดต้องรีบปรับปรุงแก้ไข 4.ห้ามกระโดดเกาะหรือห้อยโหนห่วงประตูเล่น 5.จัดระเบียบการใช้สนามและอุปกรณ์ ประกาศให้ทุกคนทราบ 6.จัดหาสถานที่หรือเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ

 

มารยาทที่ดีของผู้เล่นและผู้ชมบาสเกตบอล

มารยาทที่ดีเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ ในการอยู่ร่วมกันในสังคมหรือขณะที่ประกอบกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน การเล่น-การชมกีฬาที่ดีก็ควรมีมารยาทสำหรับการเล่นและการชมที่ดีด้วย หรืออาจกล่าวง่ายๆว่า เล่นเป็น-ดูเป็น

มารยาทผู้เล่นที่ดี

1.มีความรู้เรื่องระเบียบและกฎกติกาการเล่น 2.มีอุปกรณ์ส่วนตัวพร้อม 3.สุภาพทั้งกิริยาท่าทางตลอดจนคำพูด 
4.ให้เกียรติและเชื่อฟัง ยอมรับคำตัดสินของผู้ตัดสิน 5.มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้อภัย 6.ต้องตรงต่อเวลา 7.ต้องรู้จักป้องกันอันตรายที่เกิดจากการเล่น 8.นอกจากที่กล่าวมาแล้วสำหรับการเล่นเพื่อความสนุกสนาน ควรปฏิบัติ ดังนี้ 8.1 ควรเล่นกับผู้ที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน 8.2ไม่ควรดูถูกความสามารถผู้อื่น 8.3สำหรับผู้ที่มีฝีมือการเล่นดีกว่า ควรช่วยประคองการเล่น ให้ฝ่ายตรงข้ามเล่นได้ด้วยความสนุกสนาน 8.4ควรแสดงความยินดีและชมเชยเมื่อผู้เล่นเล่นได้ดี 8.5ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เล่นบ้างเมื่ออุปกรณ์มีจำกัด 8.6ไม่ส่งเสียงรบกวนผู้อื่น ซึ่งไม่ได้ร่วมเล่นด้วย 8.7ไม่ควรสูบบุหรี่หรือเสพของมึนเมาขณะเล่น

มารยาทผู้ชมที่ดี

1.เข้าชมในสถานที่ซึ่งจัดไว้สำหรับผู้ชม 2.ขณะที่ผู้เล่นกำลังยิงประตู ณ จุดโทษควรอยู่ในอาการสงบ 3.การเดินไปมา หรืออยู่ในตำแหน่งที่กีดขวางหรือปิดกั้นสายตาการชมของผู้อื่น 4.ให้ความร่วมมือกับกรรมการผู้ตัดสิน 
 5.ไม่แสดงอาการหรือส่งเสียงยั่วยุจนทำให้ผู้เล่นหรือกองเชียร์ฝ่ายตรงข้ามเกิดโทสะ 6.การวิจารณ์หรือว่ากล่าวผู้ตัดสินหรือผู้เล่น 7.การสูบบุหรี่หรือเสพเครื่องดื่มมึนเมาขณะชมการแข่งขัน เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม 8.ในขณะที่มีพิธีมอบรางวัลหรือพิธีเปิด-ปิดการแข่งขัน ควรอยู่ชมให้จบสิ้นรายการก่อน 

http://www.thaigoodview.com
 

เซปักตะกร้อ

 

ประวัติ

ในการค้นคว้าหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการเล่นกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่าตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
  • พม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 กองทัพพม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น มีการเล่นตะกร้อในช่วงพัก ซึ่งพม่าเรียกว่า "ชิงลง"
  • ทางมาเลเซียประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า เซปะก์รากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
  • ทางฟิลิปปินส์ นิยมเล่นกีฬาชนิดนี้กันมานานแล้ว โดยมีชื่อเรียกของตนว่า ซิปะก์
  • ทางประเทศจีนมีเกมกีฬาที่คล้ายตะกร้อแต่เป็นการเตะลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะแสดงให้เห็นผ่านทางภาพเขียนและพงศาวดารจีน
  • ทางประเทศเกาหลีมีเกมกีฬาลักษณะคล้ายคลึงกับของจีนแต่ใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก แทนการใช้ลูกหนักปักขนไก่
  • ประเทศ ไทยมีความนิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และ สามารถประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้าน ทักษะและความคิด
การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุ ดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า,หนังสัตว์,หวาย,จนถึงประเภทสารสังเคราะห์ (พลาสติก)








external image Image.aspx?ID=638388ตะกร้อเป็นกีฬาไทยที่เล่นกันแพร่หลายมานาน นับศตวรรษ ไม่ว่าจะเป็นตามชนบท ในวัด ในวัง ในเมือง จะพบเห็นการเล่นตะกร้อเสมอ เพราะตะกร้อไม่ต้องใช้บริเวณพื้นที่กว้างขวางเหมือนกีฬาประเภทอื่น ๆ อุปกรณ์ก็หาได้ง่าย ทั้งผู้เล่นก็ไม่จำกัดรูปร่าง เพศหรือวัย ตลอดจนไม่จะกัดผู้เล่นตายตัว อาจยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมการเล่นตะกร้อจึงได้รับความนิยมตลอดมาซึ่งผู้ เล่นจะได้รับประโยชน์จากการเล่นทั้งทางตรงและทางอ้อมนับอเนกประการดังนี้

ประโยชน์ของการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ

1 ตะกร้อเป็นกีฬาที่ประหยัด

ลงทุนน้อยแต่เล่นได้หลายคน คุ้มค่าเงิน สามารถร่วมทุนกันคนละเล็กละน้อยหรือผลัดกันซื้อก็ได้ ทั้งลูกตะกร้อก็มีความทนทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารู้จักใช้และรู้จักเก็บรักษาให้ดี

2  การเล่นตะกร้อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสและที่สำคัญผู้ที่ เล่นตะกร้อยังได้ชื่อว่าเป็นผู้หนึ่งที่ส่งเสริมกีฬาศิลปะและวัฒนธรรมไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของชาติอีกด้วย

3 ) การเล่นตะกร้อยังเป็นพื้นฐานของการเล่นกีฬาปะเภทอื่นได้เป็นอย่างดี

เพราะทำให้ผู้เล่นรู้จักวิธีการครอบครองลูก รู้จังหวะเข้าออก จังหวะการเตะ โดยให้มีความสัมพันธ์ระหว่างมือ เท้า อวัยวะต่างๆ ได้เคลื่อนไหวสอดคล้องกัน สร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดความแข็งแรงและความอดทนอีกด้วย

4 ) การเล่นตะกร้อสามารถเล่นคนเดียวก็ได้

หรือถ้ามีผู้เล่นมากขึ้นก็สามารถปรับการ เล่นได้ตามความเหมาะสม อันตรายจากการเล่นตะกร้อนั้นมีน้อยมาก เพราะจะไม่มีการปะทะหรือถูกต้องตัวกันระหว่างผู้เล่นด้วยกันเอง หรือแม้แต่อุปกรณ์การเล่น ก็มิได้ทำให้เกิดอันตราย ถ้าผู้เล่นรู้จักสังเกตว่ามีอุปกรณ์ใดชำรุดก็ปรับเปลี่ยนหรือซ่อมแซมให้ พร้อมก่อนที่จะเล่น การเคลื่อน ที่ด้วยความระมัดระวังก็จะทำให้เกิดการหกล้มเสียหลักได้ยาก และการเล่นตะกร้อนั้นสามารถใช้อวัยวะได้หลายส่วน ทำให้ไม่เกิดการบอบช้ำเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอีกด้วย

5 ) การเล่นตะกร้อ

เป็นการฝึกให้เกิดความคล่องแคล่วว่องไว ปราดเปรียว เพราะต้องมีความระมัดระวังตัวและเตรียมตัวพร้อมที่จะเข้าเล่นลูกในลักษณะ ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา การเคลื่อนไหวก็ต้องกระทำด้วยความรวดเร็วกระฉับกระเฉง เพื่อให้ทันกับจังหวะที่จะเล่นลูก

6 ) การเล่นตะกร้อเป็นการฝึกให้เป็นผู้ที่มีอารมณ์เยือกเย็น

สุขุม รอบคอบ เพราะการเล่นหรือการเตะลูกแต่ละครั้งจะต้องอาศัยสมาธิ และความตั้งใจอย่างแน่วแน่ ถ้าหากใจร้อนหรือลุกลี้ลุกลน การเตะแต่ละครั้งก็จะเสียไป ทำให้เล่นผิดพลาดได้บ่อยๆ ถ้าเป็นการแข่งขันก็จะพ่ายแพ้แก่คู่แข่งขันได้ง่าย

7 ) การเล่นตะกร้อเป็นการฝึกการตัดสินใจ

เพราะก่อนการเล่นลูกทุกครั้งจะต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทาง ความเร็ว ความแรงและลักษณะการหมุนของลูก ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจว่าต้องเล่นลูกด้วยท่าใด ส่งลูกไปยังทิศทางใด การกะระยะส่งลูก เป็นต้น

8 ) การเล่นตะกร้อจะช่วยประสานหน้าที่ของอวัยวะในร่างกายให้มีระบบการทำงานดีขึ้น

และเป็นการฝึกประสาทได้เป็นอย่างดี เพราะการเล่นลูกแต่ละครั้งต้องอาศัยระหว่างความสัมพันธ์ ระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ และอวัยวะต่างๆ เพื่อทำให้การเตะและการเล่นลูกเป็นไปอย่างราบรื่น นิ่มนวลและได้จังหวะ ทั้งจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบ มีการแก้ไขปัญหาตลอดเวลาที่เล่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเล่นเพื่อแข่งขัน จะต้องมีการวางแผนการเล่นโดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เนื่องจากการแข่งขันจะชี้ได้ว่าใครมีเชาว์ปัญญา ปฏิภาณไหวพริบดีกว่าหรือมากกว่ากัน

9 ) การเล่นตะกร้อก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งผู้เล่นและ ผู้ชม การร่วมวงเล่นตะกร้อมักจะมีการส่งเสียงแสดงความดีใจพอใจตลอดเวลาในการเล่น หรือการเตะท่าพลิกแพลงต่างๆ ของผู้เข้าร่วมวงอยู่เสมอ จึงก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้เล่นด้วยกัน รู้จักหน้าที่รับผิดชอบและให้โอกาสแก่ผู้อื่น เกิดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีมีความเข้าอกเข้าใจ รู้นิสัยใจคอกันดีขึ้น ยอมรับผิดและให้อภัยกันเสมอ นับเป็นการช่วยส่งเสริมให้เข้าสังคมได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

10 ) การเล่นตะกร้อนั้นเล่นได้ไม่จำกัดเวลา

คือจะเล่นเวลาใดก็ได้ตามความประสงค์ของผู้เล่น ทั้งระยะเวลาในการเล่นก็ไม่กำหนดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพอใจของผู้เล่น

11 ) กีฬาตะกร้อเล่นได้ไม่จำกัดสถานที่

อาจจะเป็นในร่มหรือกลางแจ้ง ทั้งสภาพของสนามก็ไม่เป็นอุปสรรคมากมายนัก ขนาดของสนามก็ยืดหยุ่นได้ไม่ตายตัวเหมือนกีฬาอื่น ๆ

12 ) ตะกร้อเป็นกีฬาที่เหมาะสมกับบุคคลทุกเพศทุกวัย

เพราะเป็นกีฬาที่ไม่หนักหรือเบาจนเกินไป สามารถปรับการเล่นตามความสามารถและกำลังของผู้เล่นได้ ทั้งในด้านทักษะก็มีหลายระดับชั้น ซึ่งดูเหมือนจะท้าทายและจูงใจผู้เล่นไม่รู้จบสิ้น ผู้เล่นสามารถพัฒนาทักษะไปตามวัย นอกจากนั้นอาจเล่นเพื่อความสวยงาม เพื่อการออกกำลังกาย เพื่อการแสดง หรือเพื่อการแข่งขันก็ได้




มารยาทผู้เล่น ผู้ชมตะกร้อที่ดี

กีฬาตะกร้อเหมือนกับกีฬาประเภทอื่นๆ ที่ผู้เล่นจะต้องมีมารยาทในการเล่น เพื่อทำให้การเล่นดำเนินไปด้วยดี นอกจากนี้ผู้ชมก็จะต้องมีมารยาทในการชมเช่นเดียวกัน จึงจะทำให้เกิดประโยชน์แก่การเล่นกีฬาอย่างสมบูรณ์ มารยาทของผู้เล่นและผู้ชมที่ดีมีดังนี้
1. มารยาทของผู้เล่นตะกร้อที่ดี
1. ปฏิบัติตามระเบียบ กฎ กติกาการเล่นอย่างเคร่งครัด และการยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสินตลอดเวลาที่แข่งขัน
2. มีความสุภาพเรียบร้อย แสดงความเป็นมิตรและให้เกียรติแก่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก่อนและหลังจากการแข่ง จันเสร็จสิ้น ควรจับมือกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าทีมตนจะชนะหรือแพ้ก็ตาม
3. ไม่แสดงกิริยาหรือถ้อยคำที่ไม่สุภาพต่อผู้เล่นและผู้ชม
4. มีใจคอหนักแน่น อดทน อดกลั้น และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
5. ไม่จงใจฟังคำสอนจากผู้หนึ่งผู้ใดนอกสนามในระหว่างการแข่งขัน
6. ไม่พูดจาหยาบคายหรือแสดงกิริยาเสียดสีและล้อเลียนผู้แข่งขัน
2. มารยาทของผู้ชมตะกร้อที่ดี
1. แสดงความยินดีด้วยการปรบมือแก่ผู้เล่นที่ดี
2. ไม่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้ที่เล่นผิดพลาด
3. ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการส่อเสียดในทางที่ไม่ดีต่อทีมหนึ่งทีมใด
4. ไม่กระทำตัวเองเป็นผู้ตัดสินเสียเอง หรือตะโกนด่าว่าผู้ตัดสิน
5. ไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่ทำให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก


external image 11SPLTKB0001.jpg


ตะกร้อในปัจจุบันมีอยู่ 2 ชนิด คือ ตะกร้อที่สานด้วยหวายและตะกร้อที่ทำจากใยสังเคราะห์หรือพลาสติก แม้ว่าทั้งสองชนิดนี้จะไม่เหมือนกัน แต่ถ้านำมาฝึกหรือเล่นแล้วจะเห็นว่าทั้งการเด้งและน้ำหนักไม่มีข้อแตกต่างกันเลย อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นตะกร้อก็จำเป็นต้องดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพดี พร้อมที่จะใช้งานได้เสมอ และเป็นการป้องการการชำรุดเสียหายก่อนเวลาอันควร นอกจากนี้ยังเป็นการประหยัดและเป็นการปลูกฝังนิสัยรักความมีระเบียบให้กับผู้เล่น ซึ่งหลักการปฏิบัติมีดังนี้
1.ไม่ควรนำตะกร้อที่เปียกน้ำมาเล่น เพราะนอกจากน้ำหนักของตะกร้อจะเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังทำให้ตะกร้อชำรุดมากกว่าปกติ
2.ทำความสะอาดลูกตะกร้อทุกครั้งก่อนที่จะนำไปเก็บ ด้วยการใช้ผ้าแห้งเช็ด ตากหรือผึ่งให้แห้ง จะทำให้ตะกร้อมีอายุ การใช้งานมากขึ้น
3.อุปกรณ์ที่ชำรุด เช่น ตาข่าย ลูกตะกร้อ ให้รีบซ่อมแซมทันที การปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เสียหายมากขึ้น
4.ควรมีชั้นหรือตู้เก็บอุปกรณ์โดยเฉพาะ และควรเก็บแยกประเภทให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกที่จะนำมาใช้
5.ถ้าเป็นตะกร้อหวายควรทาด้วยน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว แล้วนำไปตากแดดบ้าง โดยจะต้องระมัดระวังไม่ให้โดน น้ำ เพราะจะทำให้หวายอมน้ำและพองตัว ทำให้ตะกร้อบิดเบี้ยวเสียรูปทรงและมีน้ำหนักมาก ขณะเปียกน้ำไม่ควรนำมาเตะจนกว่าจะตากแดดให้แห้งเสียก่อน
6.ถ้าเป็นตะกร้อใยสังเคราะห์หรือพลาสติก ถ้าลูกตะกร้อเปื้อนโคลนสกปรก ก็ควรจะล้างน้ำหรือขัดถูให้สะอาดเสียก่อน จะทำให้น่าเล่นยิ่งขึ้น



 










สิ่งที่ควรคำนึงในการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อด้วยความปลอดภัย


 ผู้เล่นตะกร้อจะไม่ได้รับอันตรายจากการเล่นแม้แต่น้อย ถ้าหากได้ตรวจอุปกรณ์การเล่น และร่างกายมีความพร้อม
ที่จะเล่นอย่างพอเพียง แต่วิ่งที่ควรคำนึงในการเล่นคะกร้อด้วยความปลอดภัยมีดังนี้
1. การแตกต่างของผู้เล่นจะต้องรัดกุมเหมาะสำหรับที่จะเล่นตะกร้อ เพราะเครื่องแต่งกายมีส่วนช่วยในการเคลื่อนไหวขณะเล่นด้วย เสื้อและกางเกงที่สวมจะต้องไม่คับหรือหลวมจนเกินไป ควรใส่เสื้อยืด กางเกงขาสั้นหรือกางเกงวอม ควรสวมถุงเท้าและรองเท้าผ้าใบ
2. ก่อนการเล่นตะกร้อทุกครั้งจะต้องมีการอบอุ่นร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายและจิตใจมีความพร้อมที่จะเล่น ทั้งนี้เพื่อช่วยไม่ให้เกิดความเจ็บปวดต่อกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและอวัยวะต่างๆ จึงเป็นการเตรียมพร้อมให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้น
3. ผู้เล่นควรมีร่างกายที่พร้อมจะเล่น คือไม่มีบาดแผลในบริเวณร่างกายที่จะต้องโดนลูกตะกร้อ หรือฝืนเล่นในขณะที่ร่างกายเจ็บป่วย หรือเพิ่งหายจากการเจ็บป่วย เป็นต้น
4. ก่อนการเล่นตะกร้อทุกครั้ง ควรสังเกตพื้นสนามที่ใช้เล่นก่อนว่ามีเศษแก้ว เศษไม้ ก้อนหิน ก้อนกรวดหรือมีสิ่งแหลมคมบนพื้นสนามหรือไม่ ถ้ามีควรเก็บกวาดทิ้งเสียก่อน การเล่นหากสนามเป็นหลุมเป็นบ่อ ขรุขระ ก็ไม่ควรเล่นเพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย
5. ขณะเล่นตะกร้อ ต้องคอยตรวจดูสภาพลูกตะกร้อเสมอ ว่าตะกร้อชำรุดแตกหักหรือไม่ ซึ่งส่วนใดส่วนหนึ่งอาจจะโผล่แหลมออกมาทิ่มเนื้อหรือนัยน์ตาของผู้เล่นในขณะ เล่นได้6. การเล่นทุกครั้งจะต้องประมาณตนเอง ไม่ควรเล่นเกินไป จนกระทั่งกล้ามเนื้อเกิดความล้าเนื่องจากต้องทำงานมากเกิดไป อันเป็นผลเสียต่อสุขภาพด้วย
7. ผู้เล่นควรเล่นด้วยความสุขุมรอบคอบ เมื่อมีการผิดลาดหรือชนกันบ้างก็รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน
8. ผู้เล่นที่ฝึกหัดใหม่ ควรเลือกเล่นอุปกรณ์ที่มีขนาดเบา และควรมีสิ่งช่วยป้องกันการาดเจ็บจากการเล่น เช่น ถุงเท้า 2 หรือ 3 คู่ แองเกิล ผ้าโพกศีรษะ เป็นต้น
9. ไม่ควรเล่นตะกร้อใกล้ถนน เพราะผู้เล่นอาจจะตามไปเก็บลูกตะกร้อที่กลิ้งไปบนถนน ทำให้เกิดอันตรายจากการถูกรถชนได้
10. การเก็บลูกตะกร้อที่กลิ้งหรือโด่งไปในขณะเล่น ผู้เล่นที่ไปเก็บลูกตะกร้อไม่ควรส่งลูกตะกร้อด้วยการขว้างปา ควรกลิ้งลูกตะกร้อมาให้ผู้เล่นที่อยู่ใกล้ที่สุด เพราะการขว้างลูกตะกร้อจะทำให้ลูกพุ่งมาแรง หากผู้รับรับลูกพลาดลูกตะกร้ออาจถูกใบหน้าหรือนิ้วมือได้รับบาดเจ็บได้
11. ถ้าเป็นการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด
12. ผู้เล่นจะต้องรู้จักการบำรุงรักษาสุขภาพ ให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ
13. ในการเล่นตะกร้อที่เตะกันเป็นวง ผู้เล่นที่ถนัดเท้าขวา ขณะเล่นควรเตรียมพร้อมที่จะเล่นลูกที่มาทางขวาเสมอ หรือเรียก
ว่า ขวาชิดหู ไม่ควรใช้เท้าขวาบิดไปเตะทางซ้าย เพราะจะทำให้ไปชนหรือไปเตะผู้เล่นข้างเคียงจนได้รับอันตรายได้
ส่วนผู้เล่นที่ถนัดเท้าซ้าย ขณะเล่นควรระมัดระวังในการเข้าไปแย่งลูกกับผู้เล่นที่ถนัดเท้าขวาด้วย ในกรณีที่มีผู้เล่นตั้งแต่
สองคนขึ้นไป ซึ่งแต่ละคนต้องการที่จะเล่นลูกในทิศทางเดียวกัน ผู้ใดทีจะเล่นลูกควรจะบอกว่า “ปล่อย” เป็นต้น



 https://trakor.wikispaces.com