เซปักตะกร้อ

 

ประวัติ

ในการค้นคว้าหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการเล่นกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่าตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
  • พม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 กองทัพพม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น มีการเล่นตะกร้อในช่วงพัก ซึ่งพม่าเรียกว่า "ชิงลง"
  • ทางมาเลเซียประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า เซปะก์รากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
  • ทางฟิลิปปินส์ นิยมเล่นกีฬาชนิดนี้กันมานานแล้ว โดยมีชื่อเรียกของตนว่า ซิปะก์
  • ทางประเทศจีนมีเกมกีฬาที่คล้ายตะกร้อแต่เป็นการเตะลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะแสดงให้เห็นผ่านทางภาพเขียนและพงศาวดารจีน
  • ทางประเทศเกาหลีมีเกมกีฬาลักษณะคล้ายคลึงกับของจีนแต่ใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก แทนการใช้ลูกหนักปักขนไก่
  • ประเทศ ไทยมีความนิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และ สามารถประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้าน ทักษะและความคิด
การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุ ดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า,หนังสัตว์,หวาย,จนถึงประเภทสารสังเคราะห์ (พลาสติก)








external image Image.aspx?ID=638388ตะกร้อเป็นกีฬาไทยที่เล่นกันแพร่หลายมานาน นับศตวรรษ ไม่ว่าจะเป็นตามชนบท ในวัด ในวัง ในเมือง จะพบเห็นการเล่นตะกร้อเสมอ เพราะตะกร้อไม่ต้องใช้บริเวณพื้นที่กว้างขวางเหมือนกีฬาประเภทอื่น ๆ อุปกรณ์ก็หาได้ง่าย ทั้งผู้เล่นก็ไม่จำกัดรูปร่าง เพศหรือวัย ตลอดจนไม่จะกัดผู้เล่นตายตัว อาจยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมการเล่นตะกร้อจึงได้รับความนิยมตลอดมาซึ่งผู้ เล่นจะได้รับประโยชน์จากการเล่นทั้งทางตรงและทางอ้อมนับอเนกประการดังนี้

ประโยชน์ของการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ

1 ตะกร้อเป็นกีฬาที่ประหยัด

ลงทุนน้อยแต่เล่นได้หลายคน คุ้มค่าเงิน สามารถร่วมทุนกันคนละเล็กละน้อยหรือผลัดกันซื้อก็ได้ ทั้งลูกตะกร้อก็มีความทนทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารู้จักใช้และรู้จักเก็บรักษาให้ดี

2  การเล่นตะกร้อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสและที่สำคัญผู้ที่ เล่นตะกร้อยังได้ชื่อว่าเป็นผู้หนึ่งที่ส่งเสริมกีฬาศิลปะและวัฒนธรรมไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของชาติอีกด้วย

3 ) การเล่นตะกร้อยังเป็นพื้นฐานของการเล่นกีฬาปะเภทอื่นได้เป็นอย่างดี

เพราะทำให้ผู้เล่นรู้จักวิธีการครอบครองลูก รู้จังหวะเข้าออก จังหวะการเตะ โดยให้มีความสัมพันธ์ระหว่างมือ เท้า อวัยวะต่างๆ ได้เคลื่อนไหวสอดคล้องกัน สร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดความแข็งแรงและความอดทนอีกด้วย

4 ) การเล่นตะกร้อสามารถเล่นคนเดียวก็ได้

หรือถ้ามีผู้เล่นมากขึ้นก็สามารถปรับการ เล่นได้ตามความเหมาะสม อันตรายจากการเล่นตะกร้อนั้นมีน้อยมาก เพราะจะไม่มีการปะทะหรือถูกต้องตัวกันระหว่างผู้เล่นด้วยกันเอง หรือแม้แต่อุปกรณ์การเล่น ก็มิได้ทำให้เกิดอันตราย ถ้าผู้เล่นรู้จักสังเกตว่ามีอุปกรณ์ใดชำรุดก็ปรับเปลี่ยนหรือซ่อมแซมให้ พร้อมก่อนที่จะเล่น การเคลื่อน ที่ด้วยความระมัดระวังก็จะทำให้เกิดการหกล้มเสียหลักได้ยาก และการเล่นตะกร้อนั้นสามารถใช้อวัยวะได้หลายส่วน ทำให้ไม่เกิดการบอบช้ำเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอีกด้วย

5 ) การเล่นตะกร้อ

เป็นการฝึกให้เกิดความคล่องแคล่วว่องไว ปราดเปรียว เพราะต้องมีความระมัดระวังตัวและเตรียมตัวพร้อมที่จะเข้าเล่นลูกในลักษณะ ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา การเคลื่อนไหวก็ต้องกระทำด้วยความรวดเร็วกระฉับกระเฉง เพื่อให้ทันกับจังหวะที่จะเล่นลูก

6 ) การเล่นตะกร้อเป็นการฝึกให้เป็นผู้ที่มีอารมณ์เยือกเย็น

สุขุม รอบคอบ เพราะการเล่นหรือการเตะลูกแต่ละครั้งจะต้องอาศัยสมาธิ และความตั้งใจอย่างแน่วแน่ ถ้าหากใจร้อนหรือลุกลี้ลุกลน การเตะแต่ละครั้งก็จะเสียไป ทำให้เล่นผิดพลาดได้บ่อยๆ ถ้าเป็นการแข่งขันก็จะพ่ายแพ้แก่คู่แข่งขันได้ง่าย

7 ) การเล่นตะกร้อเป็นการฝึกการตัดสินใจ

เพราะก่อนการเล่นลูกทุกครั้งจะต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทาง ความเร็ว ความแรงและลักษณะการหมุนของลูก ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจว่าต้องเล่นลูกด้วยท่าใด ส่งลูกไปยังทิศทางใด การกะระยะส่งลูก เป็นต้น

8 ) การเล่นตะกร้อจะช่วยประสานหน้าที่ของอวัยวะในร่างกายให้มีระบบการทำงานดีขึ้น

และเป็นการฝึกประสาทได้เป็นอย่างดี เพราะการเล่นลูกแต่ละครั้งต้องอาศัยระหว่างความสัมพันธ์ ระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ และอวัยวะต่างๆ เพื่อทำให้การเตะและการเล่นลูกเป็นไปอย่างราบรื่น นิ่มนวลและได้จังหวะ ทั้งจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบ มีการแก้ไขปัญหาตลอดเวลาที่เล่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเล่นเพื่อแข่งขัน จะต้องมีการวางแผนการเล่นโดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เนื่องจากการแข่งขันจะชี้ได้ว่าใครมีเชาว์ปัญญา ปฏิภาณไหวพริบดีกว่าหรือมากกว่ากัน

9 ) การเล่นตะกร้อก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งผู้เล่นและ ผู้ชม การร่วมวงเล่นตะกร้อมักจะมีการส่งเสียงแสดงความดีใจพอใจตลอดเวลาในการเล่น หรือการเตะท่าพลิกแพลงต่างๆ ของผู้เข้าร่วมวงอยู่เสมอ จึงก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้เล่นด้วยกัน รู้จักหน้าที่รับผิดชอบและให้โอกาสแก่ผู้อื่น เกิดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีมีความเข้าอกเข้าใจ รู้นิสัยใจคอกันดีขึ้น ยอมรับผิดและให้อภัยกันเสมอ นับเป็นการช่วยส่งเสริมให้เข้าสังคมได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

10 ) การเล่นตะกร้อนั้นเล่นได้ไม่จำกัดเวลา

คือจะเล่นเวลาใดก็ได้ตามความประสงค์ของผู้เล่น ทั้งระยะเวลาในการเล่นก็ไม่กำหนดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพอใจของผู้เล่น

11 ) กีฬาตะกร้อเล่นได้ไม่จำกัดสถานที่

อาจจะเป็นในร่มหรือกลางแจ้ง ทั้งสภาพของสนามก็ไม่เป็นอุปสรรคมากมายนัก ขนาดของสนามก็ยืดหยุ่นได้ไม่ตายตัวเหมือนกีฬาอื่น ๆ

12 ) ตะกร้อเป็นกีฬาที่เหมาะสมกับบุคคลทุกเพศทุกวัย

เพราะเป็นกีฬาที่ไม่หนักหรือเบาจนเกินไป สามารถปรับการเล่นตามความสามารถและกำลังของผู้เล่นได้ ทั้งในด้านทักษะก็มีหลายระดับชั้น ซึ่งดูเหมือนจะท้าทายและจูงใจผู้เล่นไม่รู้จบสิ้น ผู้เล่นสามารถพัฒนาทักษะไปตามวัย นอกจากนั้นอาจเล่นเพื่อความสวยงาม เพื่อการออกกำลังกาย เพื่อการแสดง หรือเพื่อการแข่งขันก็ได้




มารยาทผู้เล่น ผู้ชมตะกร้อที่ดี

กีฬาตะกร้อเหมือนกับกีฬาประเภทอื่นๆ ที่ผู้เล่นจะต้องมีมารยาทในการเล่น เพื่อทำให้การเล่นดำเนินไปด้วยดี นอกจากนี้ผู้ชมก็จะต้องมีมารยาทในการชมเช่นเดียวกัน จึงจะทำให้เกิดประโยชน์แก่การเล่นกีฬาอย่างสมบูรณ์ มารยาทของผู้เล่นและผู้ชมที่ดีมีดังนี้
1. มารยาทของผู้เล่นตะกร้อที่ดี
1. ปฏิบัติตามระเบียบ กฎ กติกาการเล่นอย่างเคร่งครัด และการยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสินตลอดเวลาที่แข่งขัน
2. มีความสุภาพเรียบร้อย แสดงความเป็นมิตรและให้เกียรติแก่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก่อนและหลังจากการแข่ง จันเสร็จสิ้น ควรจับมือกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าทีมตนจะชนะหรือแพ้ก็ตาม
3. ไม่แสดงกิริยาหรือถ้อยคำที่ไม่สุภาพต่อผู้เล่นและผู้ชม
4. มีใจคอหนักแน่น อดทน อดกลั้น และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
5. ไม่จงใจฟังคำสอนจากผู้หนึ่งผู้ใดนอกสนามในระหว่างการแข่งขัน
6. ไม่พูดจาหยาบคายหรือแสดงกิริยาเสียดสีและล้อเลียนผู้แข่งขัน
2. มารยาทของผู้ชมตะกร้อที่ดี
1. แสดงความยินดีด้วยการปรบมือแก่ผู้เล่นที่ดี
2. ไม่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้ที่เล่นผิดพลาด
3. ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการส่อเสียดในทางที่ไม่ดีต่อทีมหนึ่งทีมใด
4. ไม่กระทำตัวเองเป็นผู้ตัดสินเสียเอง หรือตะโกนด่าว่าผู้ตัดสิน
5. ไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่ทำให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก


external image 11SPLTKB0001.jpg


ตะกร้อในปัจจุบันมีอยู่ 2 ชนิด คือ ตะกร้อที่สานด้วยหวายและตะกร้อที่ทำจากใยสังเคราะห์หรือพลาสติก แม้ว่าทั้งสองชนิดนี้จะไม่เหมือนกัน แต่ถ้านำมาฝึกหรือเล่นแล้วจะเห็นว่าทั้งการเด้งและน้ำหนักไม่มีข้อแตกต่างกันเลย อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นตะกร้อก็จำเป็นต้องดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพดี พร้อมที่จะใช้งานได้เสมอ และเป็นการป้องการการชำรุดเสียหายก่อนเวลาอันควร นอกจากนี้ยังเป็นการประหยัดและเป็นการปลูกฝังนิสัยรักความมีระเบียบให้กับผู้เล่น ซึ่งหลักการปฏิบัติมีดังนี้
1.ไม่ควรนำตะกร้อที่เปียกน้ำมาเล่น เพราะนอกจากน้ำหนักของตะกร้อจะเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังทำให้ตะกร้อชำรุดมากกว่าปกติ
2.ทำความสะอาดลูกตะกร้อทุกครั้งก่อนที่จะนำไปเก็บ ด้วยการใช้ผ้าแห้งเช็ด ตากหรือผึ่งให้แห้ง จะทำให้ตะกร้อมีอายุ การใช้งานมากขึ้น
3.อุปกรณ์ที่ชำรุด เช่น ตาข่าย ลูกตะกร้อ ให้รีบซ่อมแซมทันที การปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เสียหายมากขึ้น
4.ควรมีชั้นหรือตู้เก็บอุปกรณ์โดยเฉพาะ และควรเก็บแยกประเภทให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกที่จะนำมาใช้
5.ถ้าเป็นตะกร้อหวายควรทาด้วยน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว แล้วนำไปตากแดดบ้าง โดยจะต้องระมัดระวังไม่ให้โดน น้ำ เพราะจะทำให้หวายอมน้ำและพองตัว ทำให้ตะกร้อบิดเบี้ยวเสียรูปทรงและมีน้ำหนักมาก ขณะเปียกน้ำไม่ควรนำมาเตะจนกว่าจะตากแดดให้แห้งเสียก่อน
6.ถ้าเป็นตะกร้อใยสังเคราะห์หรือพลาสติก ถ้าลูกตะกร้อเปื้อนโคลนสกปรก ก็ควรจะล้างน้ำหรือขัดถูให้สะอาดเสียก่อน จะทำให้น่าเล่นยิ่งขึ้น



 










สิ่งที่ควรคำนึงในการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อด้วยความปลอดภัย


 ผู้เล่นตะกร้อจะไม่ได้รับอันตรายจากการเล่นแม้แต่น้อย ถ้าหากได้ตรวจอุปกรณ์การเล่น และร่างกายมีความพร้อม
ที่จะเล่นอย่างพอเพียง แต่วิ่งที่ควรคำนึงในการเล่นคะกร้อด้วยความปลอดภัยมีดังนี้
1. การแตกต่างของผู้เล่นจะต้องรัดกุมเหมาะสำหรับที่จะเล่นตะกร้อ เพราะเครื่องแต่งกายมีส่วนช่วยในการเคลื่อนไหวขณะเล่นด้วย เสื้อและกางเกงที่สวมจะต้องไม่คับหรือหลวมจนเกินไป ควรใส่เสื้อยืด กางเกงขาสั้นหรือกางเกงวอม ควรสวมถุงเท้าและรองเท้าผ้าใบ
2. ก่อนการเล่นตะกร้อทุกครั้งจะต้องมีการอบอุ่นร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายและจิตใจมีความพร้อมที่จะเล่น ทั้งนี้เพื่อช่วยไม่ให้เกิดความเจ็บปวดต่อกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและอวัยวะต่างๆ จึงเป็นการเตรียมพร้อมให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้น
3. ผู้เล่นควรมีร่างกายที่พร้อมจะเล่น คือไม่มีบาดแผลในบริเวณร่างกายที่จะต้องโดนลูกตะกร้อ หรือฝืนเล่นในขณะที่ร่างกายเจ็บป่วย หรือเพิ่งหายจากการเจ็บป่วย เป็นต้น
4. ก่อนการเล่นตะกร้อทุกครั้ง ควรสังเกตพื้นสนามที่ใช้เล่นก่อนว่ามีเศษแก้ว เศษไม้ ก้อนหิน ก้อนกรวดหรือมีสิ่งแหลมคมบนพื้นสนามหรือไม่ ถ้ามีควรเก็บกวาดทิ้งเสียก่อน การเล่นหากสนามเป็นหลุมเป็นบ่อ ขรุขระ ก็ไม่ควรเล่นเพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย
5. ขณะเล่นตะกร้อ ต้องคอยตรวจดูสภาพลูกตะกร้อเสมอ ว่าตะกร้อชำรุดแตกหักหรือไม่ ซึ่งส่วนใดส่วนหนึ่งอาจจะโผล่แหลมออกมาทิ่มเนื้อหรือนัยน์ตาของผู้เล่นในขณะ เล่นได้6. การเล่นทุกครั้งจะต้องประมาณตนเอง ไม่ควรเล่นเกินไป จนกระทั่งกล้ามเนื้อเกิดความล้าเนื่องจากต้องทำงานมากเกิดไป อันเป็นผลเสียต่อสุขภาพด้วย
7. ผู้เล่นควรเล่นด้วยความสุขุมรอบคอบ เมื่อมีการผิดลาดหรือชนกันบ้างก็รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน
8. ผู้เล่นที่ฝึกหัดใหม่ ควรเลือกเล่นอุปกรณ์ที่มีขนาดเบา และควรมีสิ่งช่วยป้องกันการาดเจ็บจากการเล่น เช่น ถุงเท้า 2 หรือ 3 คู่ แองเกิล ผ้าโพกศีรษะ เป็นต้น
9. ไม่ควรเล่นตะกร้อใกล้ถนน เพราะผู้เล่นอาจจะตามไปเก็บลูกตะกร้อที่กลิ้งไปบนถนน ทำให้เกิดอันตรายจากการถูกรถชนได้
10. การเก็บลูกตะกร้อที่กลิ้งหรือโด่งไปในขณะเล่น ผู้เล่นที่ไปเก็บลูกตะกร้อไม่ควรส่งลูกตะกร้อด้วยการขว้างปา ควรกลิ้งลูกตะกร้อมาให้ผู้เล่นที่อยู่ใกล้ที่สุด เพราะการขว้างลูกตะกร้อจะทำให้ลูกพุ่งมาแรง หากผู้รับรับลูกพลาดลูกตะกร้ออาจถูกใบหน้าหรือนิ้วมือได้รับบาดเจ็บได้
11. ถ้าเป็นการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด
12. ผู้เล่นจะต้องรู้จักการบำรุงรักษาสุขภาพ ให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ
13. ในการเล่นตะกร้อที่เตะกันเป็นวง ผู้เล่นที่ถนัดเท้าขวา ขณะเล่นควรเตรียมพร้อมที่จะเล่นลูกที่มาทางขวาเสมอ หรือเรียก
ว่า ขวาชิดหู ไม่ควรใช้เท้าขวาบิดไปเตะทางซ้าย เพราะจะทำให้ไปชนหรือไปเตะผู้เล่นข้างเคียงจนได้รับอันตรายได้
ส่วนผู้เล่นที่ถนัดเท้าซ้าย ขณะเล่นควรระมัดระวังในการเข้าไปแย่งลูกกับผู้เล่นที่ถนัดเท้าขวาด้วย ในกรณีที่มีผู้เล่นตั้งแต่
สองคนขึ้นไป ซึ่งแต่ละคนต้องการที่จะเล่นลูกในทิศทางเดียวกัน ผู้ใดทีจะเล่นลูกควรจะบอกว่า “ปล่อย” เป็นต้น



 https://trakor.wikispaces.com